【สรุป】A Great Little Place Called Independent Bookshop หนังสือที่คนอยากเปิดร้านหนังสือต้องอ่าน!

ความคิดเห็น · 2285 ยอดเข้าชม

สำนักพิมพ์ Paragraph Publishing

A Great Little Place Called Independent Bookshop เป็นหนังสือที่คนอยากทำร้านหนังสือต้องหามาอ่าน ไม่ว่าโลกเราจะหมุนไวแค่ไหน ยังมีร้านเล็กๆ ที่คอยชุบชูใจเหล่าหนอนหนังสือ และจะไม่สำคัญไปกว่าการแบ่งปันประสบการณ์การทำร้านหนังสือผ่านหน้าปกระดาษ 207 หน้าในรูปแบบสองภาษา มาดูกันว่าเรื่องเล่า และ Business model / Key Success factors ของร้านหนังสือเดินทางเป็นอย่างไร

เดี๋ยวนี้ไม่มีใครอ่านหนังสือกันแล้วนี่ ร้านหนังสือหมดอนาคตแล้ว? ผู้เขียนบอกไม่จริง คนที่อ่านยังมี ร้านหนังสือยังอยู่ได้ แต่จะอยู่ได้ด้วยวิธีใด ส่วนเรื่องหมดไฟ แนะนำอะไรให้อ่านหน่อยสิ มันคงจะไม่สำคัญเท่าเราค้นพบบางอย่าง สิ่งที่มาก่อนการเปิดร้านหนังสือของผู้เขียน

สองประเด็นสำคัญ ชวนให้ผู้อ่านค้นหาคำตอบ และเผชิญกับกัญหานั้นได้อย่างยั่งยืนในหนังสือเล่มนี้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่คิดอยากจะเปิดร้านหนังสือ แม้พูดเขียนจะย้ำว่าสิ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้สามารถใช้กับอย่างอื่นได้หลากหลายก็ตาม

"ทำไมร้านหนังสือยังอยู่ได้ แล้วมันบอกอะไรเรา"

"การดูว่าเมืองใดเมืองหนึ่งน่าอยู่หรือไม่น่าอยู่ เขาจะดูจากจำนวนร้านหนังสือ"
-ฮอลบรูก แจ็คสัน

ถ้าร้านหนังสือมีมากเป็นไปได้ว่าผู้คนจะให้ความสำคัญกับความรู้ ซึ่งทำให้เรามองต่อได้ว่าคุณภาพโดยรวมของสังคมจะอยู่ประมาณไหน

ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างร้านหนังสือต่างประเทศเพื่อให้เราได้เห็นภาพของร้านหนังสืออิสระในไทยมากขึ้น เช่นร้าน Cook The Books ที่รวมหนังสือทำอาหาร หรือจะเป็น The Women's Bookshop หนังสือโดยผู้หญิง เจ้าของลาออกจากงานประจำมาทำร้าน ถึงแม้งานจะหนักและมีรายได้น้อยกว่า แต่เธอก็มีความสุขดี เพราะตอนนี้ชีวิตของเธอมีเรื่องราวมหาศาล

ส่วนหนึ่งของร้านเหล่านี้ได้ถูกพูดถึงใน Bookstorestyle เสน่ห์ของร้านหนังสือที่ซีกโลกใต้ (หนังสืออีกเล่มของผู้เขียน)มาแล้ว

ทุกวันนี้โลกม้านหนังสืออยู่ 3 ประเภทคือ

1.ร้านหนังสืออนไลน์

2.ร้านหนังสือเครือข่ายตามห้าง

3.ร้านหนังสืออิสระ

คำว่าอิสระย่อมมีความพิเศษตรงที่มีความแตกต่างจากร้านหนังสือโดยทั่วไปอย่างแน่นอน และการมีอยู่ของร้านเหล่านี้ทำให้ชุมชนน่าอยู่อย่างที่ฮอลบรูก แจ็คสัน ได้กล่าวไว้

เหตุผลของการทำร้านหนังสือ
ที่ประเทศไทยผู้เขียนได้เปิดร้านหนังสือเดินทาง ร้านหนังสืออิสระมาแล้ว 18 ปี จุดพลิกของชีวิตในการมาทำร้านหนังสือคือ เห็นเพื่อนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ก่อนงานวันแต่งไม่กี่วัน เลยฉุดคิดได้ว่า ชีวิตคนนั้นแสนสั้นนัก เรารู้จุดเริ่มต้น แต่ก็ไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ประเด็นคือ เราจะบริหารความไม่แน่นอนนี้อย่างไรให้มีความหมาย

หนังสือบางเล่มที่ได้อ่านบอกผมว่าคนเราควรใช้ชีวิตให้ "เป็นตำนานส่วนตัวของตัวเอง" ในความหมายว่าไม่ได้ไปอวดใคร แต่เมื่อมองย้อนกลับไป เราควรภูมิใจกับชีวิตที่ผ่านมา ...เป็นไปได้ไหมที่จะเอาสิ่งที่เรารักเป็นอาชีพ แล้วให้มันดูแลเราในเชิงเศรษฐกิจ และทำให้ผู้คนรอบตัวเรามีความสุขไปกับมันด้วย คำถามนี้จึงเป็นที่มาของร้านหนังสือ

กิจกรรมที่ควรเกิดขึ้นในร้าน
การใช้เวลาเลือกซื้อหนังสือ (ถือเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง) มีขนม เครื่องดื่ม มีที่นั่ง มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือในเวลาที่เหมาะสม

คนไทยอ่านน้อย?
-บางคนยังคิดว่าการอ่านเป็นเรื่องของนักเรียนนักศึกษา แต่เราสามารถอ่านได้ตลอดชีวิต ถือเป็นกิจกรรมบันเทิงรูปแบบหนึ่ง
-พื้นที่การอ่านไม่เพียงพอ ร้านหนังสือดีๆ ไม่เคยอยู่ในชุมชน เวลาเปิดปิดที่ไม่ยืดหยุ่น
-จำนวนของร้านหนังสือกับพื้นที่ของร้านหนังสือไม่สมดุลกัน ยิ่งหนังสือออกใหม่ เรากลับพบพื้นที่ที่ใช้ในการขายน้องลง กลับมีพื้นที่สำหรับสินค้าอื่นที่ทำยอดขายได้ดีกว่าหนังสือ
-เมื่อเลือกขายแต่หนังสือขายดี คำถามก็คือ แล้วหนังสือที่ขายไม่ดีคือหนังสือไม่ดีใช่ไหม?

สถานการณ์ของร้านหนังสือที่ไม่อยากเผชิญ
ข้อดีของร้านใหญ่ๆ สามารถเข้าไปควบคุม รสนิยมกำหนดตลาดได้ โจทย์สำคัญของร้านหนังสืออิสระคือ ทำอย่างไรให้ร้านมีชีวิตชีวา ทำให้การอ่านเป็นเรื่องสนุก ตัวอย่างเช่น กิจกรรมมีตติ้งของร้านที่จะให้ผู้อ่านได้เขียนโน้ตถึงหนังสือที่ชอบ ทำให้คนอื่นรับรู้ได้ว่า เล่มนี้น่าอ่านนะ เอาเข้าจริงเวลาไปเดินตามร้านใหญ่ๆ เราก็เจอโน้ตแบบนี้จากผู้บริหารเช่นกัน

เทคโนโลยีจะช่วยให้เราสื่อสารกันง่ายขึ้น แต่คนเราต้องการสถานที่สักแห่ง ที่ได้ปฏิสัมพันธ์ซึ่งหน้า (ช่วงโรคระบาดข้อนี้อาจทำได้ยากหน่อย แต่สถานการณ์น่าจะคลี่คลายในเร็ววัน)

ความเสี่ยง
"อย่างเพิ่งกังวลว่า เมื่อทำขึ้นมาแล้วจะไม่มีคนชอบ หากเราทำได้ดี เชื่อได้ว่ามีแน่นอน เหตุผลที่เรายังไม่เจอพวกเขา เป็นเพราะเรายังไม่ทำมันขึ้นมา ทำขึ้นมาก่อน ยื่นมือไปหาพวกเขาก่อน แล้วจะพบว่าโลกก็พร้อมจะยื่นมือมาหาเรา" ชอบประโยคนี้ในหนังสือมากๆ

ประสบการณ์จากการทำร้านหนังสือ

"Book are my passion, my hobby and my work." คือคำพูดของคุณป้าแครอล โบ วัย 60 เจ้าของร้านหนังสือ The Women's Bookshop เธอยอมลาออกจากอาชีพครูและยังมีความสุขดีกับสิ่งที่ตัวเองรัก

ความเชื่อที่ว่าคนอ่านออนไลน์ e-book กันมากขึ้น ในความเป็นจริงแล้วเป็นทางเลือก ไม่ใช่สิ่งที่มาแทน ที่บางร้านอยู่ไม่ได้เพราะไม่ได้ทำร้านให้น่าเข้า ย้อนกลับขึ้นไปคำพูดของป้าแครอลอีกครั้ง

ป้าแครอลจะแปะโน้ตสั้นๆ แนะนำหนังสือ นอกจากนี้เธอยังวารสาร เป็นแขกรายการวิทยุ และเดินสายบรรยาย เห็นว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นจากความรักในหนังสือ อาชีพนี้ไม่ใช่อาชีพที่หวังทำเอารวย ถึงเงินจะน้อยแต่มีความสุขดี ป้าแครอลทิ้งท้าย

ร้านหนังสือใหญ่พึ่งพาอาศัยร้านเล็กๆ ในการแนะนำหนังสือเข้าร้าน เพราะปัญหาคือไม่รู้จะหาหนังสือประเภทไหนเข้าร้าน เนื่องจากองค์กรขนาดใหญ่มีปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้บางอย่างคิดนนอกกรอบถึงรายละเอียดเล็กๆ ได้ ถึงแม้ว่าร้านเล็กๆ ไม่สามรถสู้ร้านใหญ่ๆ ได้ แต่ก็มีเสน่ห์อย่างที่ร้านใหญ่ๆ คาดไม่ถึง เช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง บรรยากาศ การปฏิสัมพันธ์

สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับคนเปิดร้าน
1.แรงขับ -ทำไปทำไม เป็นแรงขับที่ไม่ต้องบอกใคร แต่มีไว้เพื่อบอกตัวเอง
2.มุมมองที่ดีต่อหนังสือ -หนังสือดีๆ เปลี่ยนชีวิตคนได้ ความต่างของร้านหนังสือคือ จะขายหนังสืออะไรที่ขายดี กับการขายหนังสือดีๆ ที่ขายได้ ถ้าเป็นที่นิยมก็ดี แต่ถ้าด้วยแรงโฆษณาต้องใส่ใจให้มาก การขายหนังสือต้องโตตามคนอ่าน ร้านจะสูญเสียความสนใจ เพราะไม่ใส่ใจคัดเลือก
3.มีทรัพยากรในการทำร้าน -มีงบเยอะไม่เท่าว่าทำร้านแล้วมีหนังสืออยู่ในร้านหรือไม่ นี่เป็นเหตุผลของคนชอบรื้อกองหนังสือข้างทาง
4.บุคลิกที่เอื้อต่อการเป็นเจ้าของร้านหนังสือ การรับมือกับคนจะเผยให้เห็นว่าเราเป็นคนอย่างไร ตรงนี้ต้องหาสมดุลให้เจอ ต้องทำให้ทุกคนได้รับความสำคัญ
5.การได้รับแรงใจจากคนใกล้ตัว

ถ้าคิดจะลุกขึ้นมาทำจริงๆ มันจะอยู่ได้จริงๆ หรือ?
1.ทำร้านให้ต่างในแง่หนังสือ
เมื่อเล็กต้องลึก คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ หากมีคาแรคเตอร์ ร้านก็อยู่ได้
2.ทำให้ร้านของเราต่างในแง่บรรยากาศ
ทำอย่างไรให้บรรยากาศร้านไม่ข่มคนอ่าน และไม่ทำให้ร้านดูส่วนตัวจนเกินไปจนไม่กล้าเข้า ร้านที่ใส่ใจคนที่เดินเข้าจะสัมผัสได้เอง
3.มุ่งมั่นมีวินัยและพึ่งตัวเองให้มากที่สุด
ลบคำสบประมาท กรณีของสายส่งไม่สนใจร้านเล็กๆ พิสูจน์ให้เขาเห็นให้ได้ว่าเราเอาจริงทำจริง
4.สร้างหุ้นส่วนทางความรู้สึก
ยื่นไมตรีจิตให้กับนักอ่าน ตอนนี้อารมณ์ไหน ซื้อไปฝากใคร หนังสือที่ซื้อไปสนุกไหม ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง
5.ใช้ประโยชน์จาหเทศกาลลดราคาหนังสือระดับชาติ
ไปซื้อหนังสือลดราคามาขาย ความจริงไมได้เป็นปัญหาร้ายแรงอะไรเท่ากับว่าสายส่งนั้นไม่เคยส่งหนังสือเล่มนั้นมาขายที่ร้านต่างหาก
6.ระลึกอยู่เสมอว่าร้านหนังสือต้องมีหนังสือเพียงแต่ไม่จำเป็นต้องมีแต่หนังสืออย่างเดียวก็ได้
กิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ งานแสดงศิลปะ ดนตรี อ่านกวี ฉายหนัง ทั้งหมดต้องเชื่อมโยงกับแนวคิดของร้านเพื่อเรียกคน
7.เปิดรับแนวคิดที่แตกต่าง

เมื่ออ่านจบแล้ว ผมอ่านไป 2 รอบ กลับพบว่า การจะทำอะไรด้วยใจรักและมีความสุขนั้นไม่ง่าย ยิ่งเป็นสิ่งที่เราตามหามาทั้งชีวิตแล้ว หนทางย่อมไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลายอย่างแน่นอน ท่ามกลางวิกฤตโควิด เศรษฐกิจทุกภาคส่วนล้วนถูกกระทบกันไปหมด สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสได้เวลากลับไปเดินร้านหนังสือคือ คนเข้าร้านมากขึ้นและใช้เวลานานขึ้น อนึ่งอาจเป็นความโหยหาการสัมผัสหนังสือจริงๆ ก่อนจับจ่ายใช้สอย

ขอสารภาพว่าช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาผมสั่งหนังสืออนไลน์มาจำนวนหนึ่ง แต่กลับอ่านไม่จบสักเล่ม บางเล่มยังห่อไว้เนียนกริ๊บ (ตีมือตัวเอง) สิ่งนี้มันคงเป็นเสน่ห์ของร้านหนังสือที่ยังพบได้ในร้านหนังสืออิสระ หนังสือเป็นเล่มจริงๆ ส่วนใหญ่จะอ่านจบภายในวันนั้น

ท้ายที่สุดแล้วหนังสือเล่มนี้จะเป็นประตูบานใหม่ สำหรับผู้ริเริ่มอยากจะทำร้านหนังสือเพื่อจรรโลงสังคมให้อุดมปัญญาต่อไป

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่
SE-ED  https://bit.ly/BuyPassportBookstoreSEED
นายอินทร์  https://bit.ly/BuyPassportBookstoreNaiin

#Agreatlittleplacecalledindependentbookshop #ร้านหนังสืออิสระ #ร้านหนังสือเดินทาง #หนุ่มนักเดินทาง #Paragraphpublishing

ความคิดเห็น