【Review】Super productive -รวิศ หาญอุตสาหะ

ความคิดเห็น · 3870 ยอดเข้าชม

 สำนักพิมพ์ KOOB

หนังสือที่รีดศักยภาพของคุณให้ออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปกติแล้วเป็นแฟนหนังสือของคุณนิ้วกลม แต่พอรู้ว่าคุณรวิศ ทำหนังสือร่วมกับสำนักพิมพ์ KOOB สำนักพิมพ์ที่แทบจะซื้อมาอ่านเกือบทุกเล่ม ก็ไม่รีรอที่จะหามาอ่าน

ความรู้สึกหลังอ่านจบ เหมือนได้อ่านนิ้วกลมเวอร์ชันนักธุรกิจ หนังสือจะประกอบไปด้วยหลักการจัดการ 3 หมวดคือ การจัดการตนเอง การจัดการธุรกิจที่บริหาร และการจัดการทีม

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่เคยฟัง Podcast Mission to the Moon และไม่ค่อยได้อ่านหนังสือแนวพัฒนาตนเอง

สิ่งที่ชื่นชอบในหนังสือเล่มนี้คือ ชุดความคิด (Mindset) และหลักการจัดการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้อย่างร่วมสมัย ไม่ใช่แค่เพียงธุรกิจ แต่ยังนำมาใช้ได้กับทุกๆ เรื่อง

สรุปเนื้อหาสำคัญในแต่ละส่ว
การจัดการตนเอง

FOPO
ปกติรู้จักแต่ FOMO (Fear of missing out) กลัวการตกเทรนด์ ในเล่มมีการพูดถึง FOPO (Our fear of other people's opinion) การกลัวคนอื่นไม่ยอมรับเรา วิธีแก้คือ หากคุณนับถือใครสักคนหนึ่ง ควรยึดปรัชญาจากไอดอลเหล่านั้นมาใช้ชีวิต และพิจารณาว่าความเห็นไหนเป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายของเร

วิธีแก้ผลัดวันประกันพรุ่งด้วยการวางแผนและลงมือทำ โดยใช้กฎ Eisenhower Matrix และ ภาวะลื่นไหล (Flow) ของ Mihaly Csikszentmihalyi ใครยังไม่หนำใจลองไปตามอ่านเพิ่มเติมกันได้ครับ

Motivation แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Hygeine factor ส่วนประกอบของงานที่ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง มิฉะนั้นจะเกิดความไม่พอใจขึ้นแน่นอน
2. Motivation factor อะไรที่ทำให้เรารักในงานที่ทำ

งานที่ดี คืองานที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย ทั้งนี้ขึ้นกับมุมมองของชีวิต factor ทั้ง 2 มีข้อดีด้อยต่างกันไป ต้องรักษาสมดุลให้ดี

ทักษะแห่งอนาคต
Growth mindset และ Meta skill คือสิ่งที่จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต การมีทักษะและแนวคิดแบบเดิมๆ ใช้กับโลกยุคนี้ไม่ได้แล้ว

การตั้งเป้าหมายการเรียนรู้
การตั้งเป้าหมายแบบ SMART
S = Specific ชัดเจน
M = Measurable วัดผลได้
A = Action-oriented ระบุเลยว่าจะทำอะไร
R = Realistic อยู่ในความเป็นจริง
T = Time-defined เป้าหมายที่ตั้งจะเสร็จเมื่อไหร่

การตั้งเป้าหมายแบบ VAPID (ตรงข้ามกับการตั้งเป้าหมายแบบ SMART )
V = Vague ไม่ชัดเจน
A = Amorphous ไม่เป็นระเบียบ
P = Pie-in-the-sky มโน
I = Irrelevant ไม่เกี่ยวข้อง
D = Delayed ไม่เสร็จสักที

คุณกำลังตั้งเป้าหมายการเรียนรู้แบบไหนอยู่ ลองปรับใช้ดูครับ

กฎ 5 ชั่วโมงของเบนจามิน แฟรงคลิน การเรียนรู้ทีละนิด แต่สม่ำเสมอ เป็นการเรียนรู้ที่มีระเบียบแบบแผน เพราะสมองจะไม่รับภาระที่จนหนักเกินไป

Active Learning โดย Bill Gates อย่าสักแต่อ่านให้ ออกความเห็น โดยการจดบันทึกระหว่างที่อ่าน (โพสต์นี้ก็ถือเป็นการ Active learning เช่นกัน)

กฎ 80/20 -Vilfredo Pareto หาแกนในสิ่งที่เรียนรู้ 20% ออกมาเพื่อที่จะส่งผลต่อความเข้าใจ 80%

เราต้องหาสาเหตุให้เจอว่า เราอยากมีทักษะนี้ไปเพื่ออะไร ตอบตัวเองให้ได้ แล้วคำตอบนั้นจะเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้

Generalist รู้หลายเรื่องแบบกว้างๆ กับ Specialist รู้ลึกๆ ในเรื่องเดียว

Specialist จะเหมาะกับองค์กรหรือธุรกิจที่มีการปรับตัวเร็ว ในขณะที่ Generalist จะเหมาะกับองค์กรหรือธุรกิจที่มีการปรับตัวช้า

ความสมดุลของนักเรียนรู้ทั้งสองคือ การเรียนรู้เป็นรูปตัว T คือทั้งรู้กว้างและลึก เราต้องรู้ว่าเราอยู่ในจุดไหนของตัว T และจุดๆ นั้นคือจุดที่เราทำงานได้ดีที่สุด

การรู้จักตัวเองคือทักษะที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน เข้าใจตัวเอง รู้หน้าที่ของตัวเอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณเติบโตได้รวดเร็วมากขึ้น

Deep Work การที่เราโฟกัสกับงานได้โดยไม่วอกแวก ภาวะ Deep work ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเกิดขึ้นตอนเช้า บางคนเกิดขึ้นตอนดึกๆ ด้วยวิธีเหล่านี้
1. ควรลดการเล่นอุปกรณ์ที่ทำให้ไม่มีสมาธิกับงานออกไป เช่น โทรศัพท์มือถือ
2. ใช้หูฟังกันเสียง ที่มี Noise Cancelling (โดนคุณรวิศป้ายยามา ที่ใช้อยู่คือ WH-1000XM3)
3. ฟัง ​Playlist ที่เราจดจ่อกับงานมากที่สุด คุณลองสังเกตตัวเองดูสิครับว่าเวลาฟังเพลงไหนแล้ว สามารถทำงานได้ไหลลื่น (ผมชอบฟัง Ryoichi Sakamoto radio บน Spotify)
4. การนั่งสมาธิก็ช่วยทำให้คุณ Deep Work ได้เช่นกัน

Burnout แบบปลอมๆ จริงๆ มันไม่ใช่การ Burnout โดยตรง มันมีเพียงแต่ข้ออ้างเท่านั้น วิธีแก้ฟังดูง่ายแต่ทำยาก เพียงแค่เปลี่ยนมุมมองที่มีต่องานเดิม

Decision -Scott Oldford แบ่งการตัดสินใจ ไว้ 3 ประเภทคือ
1. Reactive decision-making การตัดสินใจเชิงโต้ตอบ มักใช้ในช่วงแรกของการทำธุรกิจ ที่คอยวิ่งไล่ดับเพลิง เรื่องที่ถาโถมเข้ามา
2. Proactive decision-making การตัดสินใจเชิงรุก มักใช้ในช่วงที่คุณเริ่มควบคุมธุรกิจได้ประมาณหนึ่งแล้ว ยังมีกองไฟให้คุณได้ดับ เพียงแต่คุณไม่ต้องดับมันด้วยตนเองอีกต่อไป
3. Strategic decision-making การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มักใช้ในจุดที่ทำให้องค์กรก้าวกระโดด เพราะเรื่องงานต่างๆ คุณไม่ต้องลงมือสะสางเองแล้ว ทำให้มีเวลาคิดกลยุทธ์เพื่อวางแผนทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ตามฝัน

การจัดการธุรกิจที่บริหาร

3R Rethink / Reframe / Refocus

Rethinking strategy: Zoom out-Zoom in strategy การวางแผนระยะสั้น-ยาว
อะไรที่สำคัญกับเป้าหมายธุรกิจของเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วง 6-12 เดือน 3-5 ปี หรือ 10-20 ปีข้างหน้า

Reframe innovation
วัฒนธรรมในองค์กร ต้องอนุญาตให้คุณสามารถล้มเหลวได้ เมื่อล้มเหลวแล้ว การเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การคิดเรื่องนวัตกรรมใหม่จึงเกิดขึ้น

Refocus transformation -John Hagel
การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได
1. คุณต้องรู้ก่อนว่าใครคือคนที่ไม่อยากเปลี่ยน
2. ต้องรู้ว่าใครคือคนที่อยากเปลี่ยน
3. "เลื่อน" ทำยังไงก็ได้ให้คนที่อยากเปลี่ยนแปลงมีแรงน้อยลงเรื่อยๆ และเพิ่มแรงให้กับคนที่อยากเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นการต่อสู้ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป

อนาคต
สิ่งที่เป็นจริงเสมอโดยไม่ต้องคาดการณ์และไม่ต้องพึ่งพาโชคชะตาคือการโฟกัสกับเป้าหมาย การทำงานอย่างทุ่มเท ไม่ยอมแพ้ การเข้าใจยอมรับความผิดพลาด และเรียนรู้อย่างถ่อมตน เหล่านี้จะนำพามาซึ่งความสำเร็จอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

คุณค่าของบริษัทนั้นไม่ได้อยู่ที่กำไรในวันนี้ แต่คือความสามารถในการทำกำไรทั้งหมดในอนาคตรวมกัน

ความสำคัญของการศึกษาในอนาคตไม่ใช่การศึกษาเพื่อที่จะรู้ว่าจะทำอะไรยังไง แต่เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้ว่าจะศึกษายังไง -อันโตนิโอ กูเตอร์เรส

การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ถ้าคุณจะทำของที่มีคนซื้อ คุณต้องเข้าใจลูกค้าจริงๆ และการดีไซน์ฟังก์ชันงานทั้งหมด จะทำให้เราเป็นบริษัทที่เข้าใจลูกค้าจริงๆ ได้

คุณต้องเริ่มต้นจากประสบการณ์ของลูกค้าก่อนแล้วจึงค่อยมาคิดเรื่องเทคโนโลยี -Steve Jobs

Scaleable
ไม่ว่าค่าแรงคุณจะแพงแค่ไหนก็ตาม คุณก็จะมีเพดานในการหารายได้ได้ประมาณหนึ่งเท่านั้น เพราะในแต่ละวันเวลาคุณมีจำกัด

วัฒนธรรมองค์กร
แรงจูงใจในวัฒนธรรมองค์กรมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด 3 ชนิดเป็นแรงจูงใจที่ดี ส่วนที่เหลือคือ Hidden motivation

1. Play Culture วัฒนธรรมการเล่น สนุกกับงาน
2. Purpose จุดประสงค์ ทำงานอย่างมีจุดประสงค์
3. Potential ศักยภาพ งานที่ทำอาจไม่สนุก แต่ทำให้เราเติบโต
4. Emotional pressure ความกดดันทางอารมณ์ วัฒนธรรมของการไม่พูดเพราะกลัวคนอาวุโส Hippo -Highest paid person's opinion เวลาเราพูดอะไรก็จะไม่เป็นประโยชน์กับ Hippo และ Hippo จะตัดสินใจอย่างที่ตนต้องการ เวลาทำงานกับคนแบบนี้จะเครียดมาก
5. Economic pressure ความกดดันทางเศรษฐกิจ การจ่ายค่าตอบแทนอย่างยุติธรรมที่สุด
6. Inertia ความเฉื่อย คือแรงจูงใจที่ทำให้สามารถทำงานได้เหมือนเมื่อวาน ในทางกลับกันแรงเฉื่อยทำให้เรา Burnout และซึมเศร้ากับงาน

อดีต/วันนี้ /อนาคต

Workaholic คนบ้างาน
Career hungry คนที่ชื่นชอบทำงาน สนุกกับงาน

ระหว่างคนทำงานสองกลุ่มนี้มีความหมายค่อนข้างใกล้เคียงกัน

Growth Culture
ผู้นำต้องยอมรับความผิดพลาดและแสดงออกให้เห็นว่า เรามีความรับผิดชอบมากพอที่จะยอมรับความผิดพลาดของเรา และทำให้ทุกคนเชื่อว่าความผิดพลาดจะไม่ถูกลงโทษแบบสาหัสสากรรจ์ แต่ว่าเป็นเพียงหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรุ้เท่านั้น -Tony Schwartz

รับมือฟีดแบ็กด้านลบบนโซเชียล
1. ตอบกลับอย่างรวดเร็ว
2. อย่าขอโทษโดยที่ไม่ได้ขอโทษ
3. หาปัญหาที่แท้จริงด้วยความใจเย็น
4. เปลี่ยนการสื่อสารจากออนไลน์เป็นออฟไลน์
5. ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่คำขอโทษ

สิ่งที่ AI ทำไม่ได้ (ในเวลาอันสั้น)
มนุษย์สามารถทำงานด้วยกันผ่านการแลกเปลี่ยนความคิด
จินตนาการมาจากเรื่องเล่า

การจัดการทีม

การปรับ Mindset เรื่องความเครียดของทีม
ถ้าวันนี้มีเวลาทำงานแค่ 1-2 อย่าง งาน 1-2 อย่างที่ว่านั้นคืออะไร ถ้าตอบไม่ได้ งานของคุณก็จะไม่มีคุณค่า และ Productivity ได้ดีเท่าที่ควร

งานเยอะให้ถ่ายเท หาคนที่ทำได้ดีกว่าคุณ อย่าให้มาติดแหงกที่คุณ

เวลาที่เราไม่ถูกขัดจังหวะ เรามักคิดสิ่งใหม่ๆ ได้เสมอ ลองหาช่วงเวลาที่ไม่ถูกรบกวนดูครับ

ประชุมเรื่องที่ควรประชุมกับคนที่ควรประชุมเท่านั้น

ใช้ LINE คุยงานมันดีมาก แต่มันไม่ได้เหมาะกับทุกเรื่อง ควรใช้เครื่องมือที่เหมาะสมอย่าง Slack, workplace team

ควรแบ่งงานอย่างยุติธรรม ป้องกันดราม่า และการโดนเอาเปรียบ

อย่าเป็น One man show ควรแบ่งงานให้คนอื่นได้เกิดบ้าง เป็นหัวหน้าที่ดี ในการปั้นคน อย่าเห็นแก่ได้

ความสุข กับ Productivity เป็นของคู่กัน

อย่าให้คนเพียงคนเดียวเข้ามาทำลายวัฒนธรรมองค์กรที่คุณลงทุนลงแรงขึ้นมา

ฝีมือฝึกได้ แต่ความเชื่อใจสำคัญกว่า

ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้

วิธีรับมือคน Toxic (คนที่สร้างความเสียหายต่อตนเองและคนอื่น)
1. หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาอย่างใจเย็นและไม่มีอคติ
2. ฟีดแบ็คตรงๆ และให้โอกาสในการเปลี่ยนแปล
3. อธิบายถึงผลที่ตามมาใรณีที่เขาไม่แก้ไข อย่าข่มขู่ ให้พูดแต่ข้อเท็จจริงล้วนๆ
4. เก็บบันทึกหลักฐานความเสียหาย
5. พยายามแยกคนที่ Toxic ออกจากคนอื่น ถ้ายังดับไฟไม่ได้ อย่างน้อย ต้องไม่ให้ลาม
6. อย่าใช้พลังงานเยอะเกินไปในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพราะคุณนังมีเรื่องอื่นต้องทำ

Coaching 1 ใน 7 ทักษะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ควรพัฒนา

การ Coaching ทำข้ามวัยได้ ไม่ได้มีเพียงผู้ใหญ่โค้ชเด็กเท่านั้น แต่เด็กยังสามารถโค้ชผู้ใหญ่ได้เช่นกัน

การ Coaching ควรทำในองค์กร แบบ Inside - out เรื่องบางเรื่องไม่สามารถสอนได้ ต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเป็นโค้ชไม่จำเป็นต้องเทพมาก่อน แต่ต้องเป็นคนที่สามารถจัดการตนเองได้

การโค้ชเป็นงานศิลป์ ถ้ารีบ อย่าเพิ่งโค้ช

การให้เกียรติเหมือนกับอากา
อย่าฮึดฮัดขึงขัง ใช้อารมณ์ ควรวางตัวให้สุภาพทั้งกาย วาจา ใจ นอกจากจะทำให้คนอยากทำงานด้วยแล้ว ยังทำให้ผลงานดีขึ้นอีกด้วย

การให้เกียรติไม่เกี่ยวกับผลตอบแทน ทุกคนในองค์กรคือฟันเฟืองสำคัญ

การสัมภาษณ์งาน
คำถามสำคัญ
ถ้าคุณได้โอกาสทำงานที่นี่ คุณจะทำไหม
คุณสัมภาษณ์งานที่ไหนบ้าง
คุณมีแผนจะย้ายไปเมืองอื่นเร็วๆ นี้ไหม
สาเหตุที่คุณอาจไม่รับงานนี้หากได้รับข้อเสนอคืออะไร

คำถามและคำตอบที่ถูกต้องไม่มีจริง ประสบการณ์คือสิ่งที่สอนเราได้ดีที่สุด

ความสุข
ความสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้เรามีความสุขและแข็งแรง

ความเหงาโดดเดี่ยวจะฆ่าเรา คนที่มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยกว่า จะเป็นคนที่มไม่มีความสุข สุขภาพเสื่อมโทรม ตั้งแต่ช่วงกลางชีวิต

มนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ฉะนั้น อย่าลืมดูแลรักษาความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้างให้ดีครับ

เพื่อน
1. เรามักเสียใจกับเรื่องที่เราไม่ได้ทำ อย่าให้ชีวิตมีคำว่ารู้งี้
2. ทุกคำล้อเล่นของเพื่อนมีความจริงอยู่ครึ่งหนึ่งเสมอ
3. เราไม่ได้เติบโตด้วยเหตุการณ์ใหญ่ๆ เพียงครั้งเดียว
4. อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว สิ่งนั้นดีเสมอ
5. เราเห็นโลกในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่แบบที่มันเป็น
6. ทุ่มเทกับสิ่งที่ถนัด แล้วงานจะออกมาดี
7. การลงทุนที่มีค่าที่สุดคือการลงทุนกับตัวเอง
8. วินัยไม่ใช่พรสวรรค์
9. เลือกคนทีอยู่รอบตัวให้ดี
10. เวลากับการบริหารเงินคือสิ่งที่อยากย้อนกลับไปทำที่สุด
11. อย่าหวังอะไรใหม่จากพฤติกรรมเก่าๆ
12. สะสมเรื่องราวให้มากกว่าสิ่งของ (คุณหมู Ookbee เคยกล่าวไว้เช่นกัน)
13. สิ่งที่สร้างยากที่สุดคือชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ

สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่่หลักการ ที่จะทำให้ Productive แต่เป็นเรื่องราว และประสบการณ์ของคุณรวิศ หลักการจัดการต่างๆ จะไม่มีประสิทธิภาพเลย หากขาดการลงมือทำ ผมเองเป็นคนหนึ่งที่ชอบ แต่ขาดการลงมือทำ หลายคนเข้าใจว่า ความ Productive จะช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น แต่เปล่าเลย การทำงานที่ดีต้องมีคุณค่าและวัดผลได้ด้วยความ Productiveเราได้เรียนรู้ประสบการณ์ทำงานผ่าน Super Productive แม้ในบางบริบทอาจไมได้ใช้ในวันนี้ แต่วันข้างหน้า เมื่อคุณใช้ชีวิตที่อยู่ในงานการบริการจัดการองค์กร หรือวางกลยุทธ์ให้กับบริษัท ผมเชื่อว่า Super Productive คือคำตอบของคุณครับ

#SuperProductive #RawitHanutsaha #MissionTothrMoon #Koob

ความคิดเห็น