【Review】วะบิ-ซะบิ -เลนาร์ด โคเรน I สายพิณกุล กนกวรรณ ฮัมดานี แปล 

ความคิดเห็น · 2087 ยอดเข้าชม

สำนักพิมพ์ Openbooks

หลังจากที่ได้อ่านอิคไก คินสึงิ วิถีอีกแขนงหนึ่งที่จะพลาดอ่านไม่ได้เลยคือ วะบิ-ซะบิ ทันทีที่ทราบข่าวว่าจะมีการตีพิมพ์และแปลใหม่อีกครั้ง จึงไม่ลังเลที่จะหามาอ่าน

ทำไมต้องวะบิ-ซะบิ
การหลอมรวมปรัชญาต่างๆ จนตกผลึกออกมาเป็นวิถีแห่งชา ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่าวะบิ-ซะบิ คือความงามของสิ่งซึ่งไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ยั่งยืนถาวรและไม่บริบูรณ์ คือความงามของสิ่งซึ่งระบอมถ่อมตน คือความงามของสิ่งซึ่งไม่เป็นตามขนบ

อาจแปลได้หลายความหมาย กว้างสุดคือวิถีชีวิต และแคบที่สุดคือความงามที่มีลักษณะเฉพาะแบบหนึ่ง ส่วนตัวแล้วสงสัยมานานแล้ว่าคำในภาษาอังกฤษคำไหนจะใกล้เคียงกับวะบิ-ซะบิ มากที่สุด นั่นคือ Rustic "เรียบๆ ไม่มีชั้นเชิง ไม่ซับซ้อน มีผิวสัมผัสหยาบหรือขรุขระ"

วะบิ-ซะบิ มีความเป็นวิถีเซน คือเราต้องใส่ใจต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น (คล้ายกับวิถีอิคิไกว่าด้วยเรื่องของการอยู่กับปัจจุบัน ตอนนี้ เดี๋ยวนี้)

วะบิ-ซะบิ เตือนให้เราเลิกยึกติดกับความสำเร็จ ความมั่งคั่ง สถานภาพ อำนาจ ความฟุ้งเฟ้อ แล้วมีความสุขกับชีวิตที่มไม่มีภาระผูกพัน

การรู้ว่าเมื่อไหร่จะไม่ เลือก สำคัญพอๆ กับการรู้ว่าเมื่อไหร่จะต้องเลือก นั่นก็คือ การปล่อยให้สิ่งต่างๆ เป็นไปเอง

ทุกสิ่งเท่าเทียมกัน วะบิ-ซะบิคือสิ่งที่มีค่าและไม่มีค่า สภาวะวะบิ-ซะบิ จะเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับการชื่นชมเท่านั้น และจะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะ

ลักษณะของวะบิ-ซะบิเป็นอย่างไร
ความงามที่มีลักษณะเฉพาะแบบหนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก แม้ว่าภายนอกของวัตุนั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรสภาพภายในยังคงเดิม สภาพภายนอกนี้แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลานับเป็นความงามตามธรรมชาติ (บ่อยครั้งที่เราเห็นความสำเร็จที่เกิดจากความผิดพลาด)

วะบิ-ซะบิไม่ใช่วัตถุที่เอาไว้สำหรับการเก็บรักษา แต่เน้นการใช้งานและเมื่อได้รับการชื่นชมจึงถูกเรียกว่า วะบิ-ซะบิ

วะบิ-ซะบิ ไม่มีแบรนด์ ยิ่งไร้ชื่อเสียง หรือการกำหนดใดๆ จะดีที่สุด

วะบิ-ซะบิ ไม่มีโทนสี บ่อยครั้งที่เราจะเห็นเป็นสีหม่นๆ ตามแบบธรรมชาติ ผู้แปลนิยามว่าเป็นสีเอกรงค์ (Monochromatic color)

วะบิ-ซะบิ เรียบง่าย แต่ไม่น่าเบื่อ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้คือหลักปรัชญาสมัยนิยมเข้ากันได้อย่างน่าประหลาด แต่โดยรวมแล้วขึ้นอยู่กับว่าเราจะหยิบออกมาใช้ในสถานการณ์ไหนของชีวิต หน้าที่การงาน เวลาเราได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือสถานที่ใดๆ ที่มีความเป็นญี่ปุ่น เราจะมักพบความเป็นวะบิ-ซะบิแฝงตัวอย่างแยบยล สิ่งที่เลนาร์ด โคเรนถ่ายทอดอาจดูไม่เป็นแบบแผนมากนัก เพราะความเป็นวะบิ-ซะบิ ไม่มีโครงสร้างที่เป็นระบบระเบียบ หรืออาจเป็นความตั้งใจของผู้เขียน

นอกจากเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบคือภาพประกอบ พร้อมคำอธิบายท้ายเล่ม ทำให้ต้องอ่านซ้ำและตีความกันไปอีกรอบ ถือเป็นหนังสือเล่นหนึ่งที่ใช้เวลาอ่านไม่นานนัก เหมาะสำหรับจิตรกร ดีไซนเนอร์ นักกวี และนักปรัชญา

และสำหรับผู้ที่มีความใคร่รู้แนะนำครับ

วะบิ-ซะบิ เมื่อไม่สมบูรณ์ จึงงดงาม

#wabisabi #วะบิซะบิ #openbooks

ความคิดเห็น