ความจริงของ Burnout ไม่ใช่แค่เหนื่อยล้า แต่ยังโดดเดี่ยว

ความคิดเห็น · 1943 ยอดเข้าชม

ที่มา Harward Business Review

ในสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้ ความเหนื่อยล้าจากการทำงานจากที่บ้าน ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจเป็นเรืองธรรมดา แต่หารู้ไม่ว่าความเหนื่อยล้านั้นยังส่งผลกับความโดดเดี่ยวอีกด้วย จากผลสำรวจของ General Social Survey ปี 2016 พบว่าผู้คนกว่าครึ่งของผลสำรวจบ่นเหนื่อยล้ากับงานมากขึ้น และจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเหนื่อยล้ามากเท่าไหร่ ความโดดเดียวยิ่งทวีคุณมากขึ้น เหตุผลเป็นเพราะอะไร?

 

ความโดดเดี่ยวนี้ไม่ใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นเพราะการกักตัวในช่วงนี้ แต่เป็นปัญหาที่สั่งสมมานานแล้วของยุคสมัย ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภายกายและใจ แล้วเราจะแก้ไขได้อย่างไร? การเข้าสังคมช่วยให้อัตราความกังวลและความเครียดลดน้อยลง นับเป็นความท้าทายใหม่ขององค์กรที่จะต้องสร้างวัฒนธรรมการแก้ Burnout โดยการ ลดภาระงาน หรือสอดแทรกคอร์สที่ทำให้จิตใจสงบ ในบ้านเราอาจเรียกได้ว่าการใช้หลักธรรรม ธรรมะเข้ามาช่วย

 

ข้อดีขององค์กรที่มีภาวะ Burnout ในอัตราที่ต่ำคือ พนักงานมีความพอใจกับชิ้นงาน และทำงานได้ Productive มากขึ้น ความสัมพันธ์ที่ดีของพนักงานในองค์กรยังส่งผลถึงความสัมพันธ์ของสังคมในด้านการเห็นคุณค่าของชีวิต การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความปลอดภัย ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้จะทำพาจุดเล็กๆ นี้กลายเป็นจุดที่ยิ่งใหญ่ในสังคมได้

 

ผู้นำองค์กรควรทำอย่างไรเพื่อลดการ Burnout?

1.ส่งเสริมและเอาใจใส่วัฒนธรรมองค์กร

คุณลักษณะที่ดีนำพาองค์กรสู่ความเจิรญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็น การสนับสนุน การให้อภัย ความเคารพ ความห่วงใย ล้วนทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี ซึ่งจะไม่นำมาสู่ภาวะ Burnout

 

2.ส่งเสริมให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรสร้างเครือข่ายการพัฒนา

การสร้างเครือข่ายในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการขายตรงหรือการเล่นพรรคเล่นพวกแต่อย่างใด แต่หมายถึงการสร้างโอกาส ที่ช่วยลดอีโก้ของแต่ละฝ่ายลง แถมยังช่วยละลายพฤติกรรม และนำพาสู่งานที่สร้างสรรค์มากขึ้น

 

3.ให้รางวัลกับความสำเร็จ

การมีความสุขนำพาสู่คุณภาพชีวิตที่ยังยืน ไม่ใช่ว่าซื้อรางวัลให้ตัวเอง นั่นไม่ใช่การฉลอง แต่เป็นการปลอบใจตัวเอง การฉลองในทีนี้หมายถึงการสังสรรค์เป็นหมู่คณะ อาจเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่อบอุ่น ผลวิจัยยังพบอีกว่าในแต่ละปีมีผู้คนเสียเงินไปกับการรักษาอาการทางจิตเป็นอย่างมาก มันจะดีมั้ยถ้าเราใส่ใจคนรอบข้างแล้วคนรอบข้างก็ใส่ใจเรา ที่ทำงานที่ดี ส่งผลให้สุขภาพจิตและชิ้นงานดีขึ้นตามลำดับ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ฟังดูเหมือนง่าย แต่จะขาดไม่ได้เลยหากไม่นำไปปฏิบัติ

 

เชื่อว่าหลังจากวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ได้จากไป หลายๆ ท่าน รวมถึงองค์กรจำเป็นต้องปรับตัวกันขนานใหญ่อย่างแน่นอน เพราะ New normal ในวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่าแล้ว ขอให้อยู่รอดปลอดภัย

ที่มา: https://bit.ly/2WNraNX

ความคิดเห็น