Defrag ชีวิต, แล้วอะไรก็จะดี๊ดี

ความคิดเห็น · 3571 ยอดเข้าชม

เทคนิคที่ทำให้คอมฯทำงานดีขึ้นคือการจัดระเบียบข้อมูลที่ประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ดี

Defrag : ความหมาย

ความหมายคำว่า Fragment ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หมายถึงประโยคที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนอีกความหมายหนึ่งหมายถึง part, section, portion, segment หรือ ชิ้นส่วน (ในที่นี้หมายถึงชิ้นเล็กๆย่อยๆ)

เมื่อเติม Prefix คำนำหน้า De- เข้าไปรวมเป็นคำว่า Defrag จึงหมายถึงทำให้มัน “ไม่” เป็นชิ้นย่อยกระจัดกระจาย

เมื่อใช้เป็นคำนามจึงเป็นคำว่า Defragmentation ทีหมายถึงการจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย นั่นเอง

Defrag คอมฯ

การจัดเก็บข้อมูลในคอมฯ ปกติจะใช้วิธีที่สามารถเก็บข้อมูลชุดเดียวกันแต่วางไว้กระจายๆบนที่เก็บข้อมูลเช่น Harddisk ได้ เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่เก็บข้อมูลได้อย่างคุ้มค่าที่สุด แต่เมื่อกระจายมากๆ การเรียกข้อมูลจะต้องเสียเวลาในการวิ่งไปเก็บข้อมูลที่กระจายมารวมกัน จึงทำให้คอมฯ ที่ใช้ไปช้าลงเรื่อยๆ เพราะยิ่งนานข้อมูลที่เพิ่มขึ้นยิ่งกระจาย จึงมีโปรแกรมที่ช่วยจัดเรียง Defrag ให้ข้อมูลจัดเรียงแถวกันให้เป

[imgs]darveshguru.com/wp-content/uploads/2017/04/restrartyourbrain_week1.jpg[/imgs]

Defrag ชีวิต

ชีวิตใช้ผ่านไปวันๆ ก็ไม่ต่างกับคอมฯ ที่ใช้ไปเรื่อยๆ ข้อมูลถูกเก็บอย่างสะเปะสะปะไม่มีความเป็นระเบียบ เวลาผ่านไปประสิทธิภาพก็ลดลงไปเรื่อยๆ จึงต้องมีการจัดระเบียบเพื่อให้ประสิทธิภาพกลับมาดีได้เหมือนเดิม สำหรับคนแล้ว นอกเหนือจากที่เก็บข้อมูลหรือความจำ ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกที่เมื่อได้ Defrag จัดระเบียบแล้ว ประสิทธิภาพยิ่งเพิ่มขึ้นอีกทวีคูณ ในตอนนี้มีตัวอย่างที่สามารถ Defrag ปรับชีวิตได้ใหม่ทันทีคือ ความจำ, ความคิด และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เริ่มเพียงเท่านี้แล้วชีวิตดีๆ สิ่งดีๆ ก็จะทะยอยเข้ามา

ความจำ

คือความสามารถในการเก็บข้อมูลและเรียกข้อมูลออกมาใช้ มีทั้ง Input และ Output เพราะว่าถ้าจะเก็บข้อมูลอย่างเดียวถือว่าไม่ใช่การจำ เป็นแต่เพียงการเก็บ การจำจึงต้องนำออกมาใช้ในยามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ดังนั้นความจำจึงกลายเป็นความสามารถในการทั้งเก็บและนำข้อมูลออกมาใช้นั่นเอง

ประเภทของความจำ

ความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ “ความจำระยะสั้น” ที่จำได้ไม่นานก็ลืม และ “ความจำระยะยาว” ที่อยู่กับเราถาวร เมื่อประสบเหตุต่างๆ สมองของคนเราจะสร้างความทรงจำขึ้นมาสองชุดพร้อมกัน ทั้งความทรงจำระยะสั้นและความทรงจำระยะยาว ซึ่งต่างก็มีความเชื่อมโยงกัน*

*ผลศึกษาล่าสุดเรื่องการเก็บความทรงจำของสมอง ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science

ความจำสิ่งมีชีวิต VS เทคโนโลยีความจำ

เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการ “ความจำ” กับด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องคือ “กระบวนการประมวลข้อมูล” ที่มี 3 ส่วนคือ 1.Encoding (เข้ารหัส) รับและแปลผล 2.Storage (ที่จัดเก็บ) เป็นการบันทึกข้อมูลที่ได้เข้ารหัสแล้ว* 3.Retrieval (การค้นคืน) หรือ recollection, recognition เป็นการระลึกถึงข้อมูลที่ได้บันทึกไว้แล้วโดย เป็นกระบวนการตอบสนองต่อตัวช่วย (cue) เพื่อใช้ในพฤติกรรมหรือกิจกรรมอะไรบางอย่าง

ความจำ เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “Defrag”?

จากข้อมูลข้างต้นว่าความจำมี 2 ประเภท ถ้าอยากจำอะไรให้เก็บไว้ใช้ได้นานก็ต้องเป็นความจำระยะยาว การทำให้เป็นความจำระยะยาวได้ก็จะมีวิธีต่างๆ ที่สามารถ google หา “เทคนิคการจำ” ได้มากมาย โดยวิธีหลักคือ “การทำความเข้าใจ” ซึ่งก็คือการนำข้อมูลนั้นๆ มา Defrag ข้อมูลดิบให้เป็นข้อมูลที่มีระเบียบมีโครงสร้าง โดยการทำความเข้าใจในเนื้อหาว่าผลตรงนี้เกิดขึ้นได้จากอะไร เกิดได้อย่างไร คิดให้เป็นลำดับ เมื่อเข้าใจแล้วก็จะกลายเป็นองค์ความรู้ที่ถูกจัดเก็บไว้ในความจำระยะยาวนั่นเอง ไม่ต่างกับการบวนการประมวลผลข้อมูล Encode ข้อมูลโดยการทำความเข้าใจ แล้วเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ หรือในวงการ Big Data เรียกว่ามีโครงสร้าง (Structured data) ไว้ใน Storage เมื่อต้องการเรียกใช้การสามารถค้นคืน (Retrieve) มาใช้ได้ทันที

สรุป : Defrag ความจำ ทำอย่างไร?

  • ตอบ – เรียบเรียงทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องการจดจำ

ความจำจะดีได้เกิดจากการ Defrag จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นองค์ความรู้

 

ความคิด

“จิตเตนะ นียะติ โลโก” แปลว่า โลกหมุนไปเพราะความคิด หรือ “You are what you believe” คิดอย่างไร เชื่ออย่างไร ก็จะเป็นอย่างนั้น

ความคิดเกิดจากกระบวนการทำงานของสมองเป็นสิ่งที่อยู่ภายในจากการรวบรวมจัดระบบข้อมูลและประสบการณ์ เกิดเป็นเรื่องราวขึ้นในใจ และสื่อสารออกมาโดยใช้คำพูดหรือการแสดงออก

“หนูเป็นคนคิดมาก” เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อหัวใจให้เป็นทุกข์มากมาย เพราะมันดึงความสนใจ สมาธิ ของเราไปอยู่กับสิ่งที่ผุดขึ้นมาไม่รู้จบโดยเฉพาะเมื่ออยู่คนเดียว เพราะจิตของคนเรามักจะไม่ค่อยอยู่กับปัจจุบัน ไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง

ความคิด เกี่ยวข้องอย่างไรกับ “Defrag”?

เมื่อความคิดวุ่นวายเป็นปัญหา จึงต้องเริ่มขจัดต้นตอของปัญหาด้วยการ Defrag จัดระเบียบแยกแยะให้ไม่วุ่นวายเสียก่อน เพื่อให้ไม่ฟุ้งซ่าน คิดให้จบเป็นเรื่องๆไป เพียงเท่านี้ชีวิตก็จะง่ายขึ้น แต่จะ Defrag ได้ดีก็ต้องควบคุมไม่ให้จิตลอยไปมา ทำได้โดย “การฝึกสมาธิ”

สรุป : Defrag ความคิด ทำอย่างไร?

  • ตอบ – เรียบเรียงจัดระเบียบ จดออกมาเป็นข้อๆ แล้วคิดให้จบเป็นเรื่องๆ

ความคิดที่ดีจึงเกิดจากการ Defrag, การ Defrag จะทำได้ดีเมื่อมีสมาธิ จึงต้องควบคู่กันไป

 

ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

“เก็บดีเกินไป” ? เชื่อว่าหลายครั้งที่มองหาของที่จำเป็นต้องใช้และจำได้ว่าเรามีอยู่ แต่หาไม่เจอแล้วให้เหตุผลว่าเก็บมันไว้ดีเกินไป กว่าจะหาเจอ (หรือหาไม่เจอ) อาจไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้แล้ว เสียโอกาสดีๆ ที่อาจมีเพียงครั้งเดียว ณ เวลาสำคัญนั้นไปเสียแล้ว ดังนั้นการจัดเก็บสิ่งของก็ต้อง Categorized ให้เป็นระเบียบ แยกแยะจัดกลุ่มเพื่อให้พร้อมนำมาใช้เสมอเมื่อต้องการ

สรุป : Defrag ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำอย่างไร?

  • ตอบ – หมั่นจัดสรรจัดกลุ่ม แยกแยะสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นหมวดหมู่ จัดห้อง จัดโต๊ะ ทำงานให้โล่งสะอาดตา ให้ทุกสิ่งพร้อมหยิบจับเมื่อต้องการ

เมื่อความรกรุงรัง ถูก Defrag กลายเป็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชีวิตก็ดำเนินได้อย่างเป็นสุขและมีคุณภาพ

 

สรุป

เป็นเรื่องปกติที่จะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นและเข้ามาไม่หยุดหย่อนตราบที่ยังมีลมหายใจ ชีวิตที่ดำเนินไปเรื่อยๆ โดยลืมหรือไม่ได้คิดที่จะจัดระเบียบจะยุ่งเหยิงวุ่นวายยิ่งขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปทุกด้าน ทั้งการงาน ความคิด ชีวิต กลายเป็นความทุกข์ แต่ถ้าเมื่อได้เริ่ม Defrag จัดระเบียบทุกๆส่วนครั้งใหญ่จนเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว และเริ่มนิสัยนักจัดระเบียบ Defrag ให้เป็นประจำ สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่เข้ามาในชีวิตทุกสิ่งก็จะไม่ไร้ค่าอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้เช่นสิ่งของ, อุปกรณ์เครื่องมือ ฯลฯ ที่พร้อมถูกหยิบจับมาใช้ประโยชน์ได้เสมอ หรือสิ่งที่จับต้องไม่ได้เช่น ความจำที่เรียบเรียงไว้อย่างเป็นระบบเป็น Database ฐานข้อมูล, ความคิดจิตใจที่ถูกเรียบเรียงกล่อมเกลา เมื่อรวมกันแล้วก็คือ “สติปัญญา” ที่เป็น Core แกนหลักในการนำพาชีวิตให้ดียิ่งขึ้นไป

สติดี ระเบียบมา ปัญญามี .. Defrag กันได้เลย

Toni Maxx

ความคิดเห็น